top of page
Search

Row-bot หุ่นยนต์ที่กินมลภาวะเป็นอาหาร

ไอเดียการพัฒนาหุ่นยนต์ตัวนี้มาจากการสังเกตการทำงานของร่างกายสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ นั่นก็คือ ปลาฉลามอาบแดด และมวนกรรเชียง (Water Boatmen) เราจึงนำสิ่งมีชีวิตทั้งสองนี้ มารวมกันแล้วสร้างหุ่นยนต์แบบใหม่ขึ้นมา

ปัญหาน้ำเน่าเสียแพร่ขยายวงกว้าง และการแก้ไขปัญหาไม่ใช่เรื่องง่าย การขุดลองคูคลอง แม่น้ำลำธาร กำจัดผักตบชวา สาหร่ายที่แออัดมากเกินขนาดในแหล่งน้ำมักไม่สามารถดำเนินการได้ทันกับการเติบโตของมลภาวะ สุดท้าย คูคลอง แหล่งน้ำต่างๆ ก็กลายเป็นสีดำ เน่าเหม็น


ทำไมทุกวันนี้ปัญหาน้ำเสียหรือมลพิษทางน้ำถึงมีมากเหลือเกิน คำตอบง่ายๆ ก็คือ เพราะว่าปัญหาน้ำเสียหรือมลภาวะทางน้ำที่เกิดขึ้นนี้เชื่อมโยงกับการทำการเกษตร ทุกวันนี้ภาคการเกษตรพึ่งพาสารเคมีสูง ผลจากการใช้สารเคมี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปุ๋ยไนเตรตและสารกำจัดศัตรูพืชในการเกษตรนี้ก่อให้เกิดมลภาวะขึ้น และมลภาวะเหล่านี้ยังจะถูกดูดซึมเข้าสู่ดิน เมื่อฝนตก ดินที่ปนเปื้อนไนเตรตจะไหลลงสู่แม่น้ำลำธาร สาหร่ายที่มีในแหล่งน้ำจะกินไนเตรตเหล่านี้ ทำให้ประชากรสาหร่ายเพิ่มสูงขึ้นจนล้นเกิน ส่งผลให้ระดับออกซิเจนในน้ำลดลงและส่งผลให้น้ำเสีย เกิดมลพิษขึ้นนั่นเอง



เลียนแบบสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ

“ไอเดียการพัฒนาหุ่นยนต์ตัวนี้มาจากการสังเกตการทำงานของร่างกายสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ นั่นก็คือ ปลาฉลามอาบแดด และแมลงที่ชื่อว่ามวนกรรเชียง (Water Boatmen) เราจึงนำสิ่งมีชีวิตทั้งสองนี้มารวมกันแล้วสร้างหุ่นยนต์แบบใหม่ขึ้นมา ความจริงก็คือ เราใช้มวนกรรเชียงเป็นแรงบันดาลใจ หุ่นยนต์ของเราลอยอยู่บนน้ำและมันกรรเชียงตัวเอง เราเรียกมันว่า "Row-bot" (กรรเชียงยนต์)”

ศาสตราจารย์ Jonathan Rossiter ด้านหุ่นยนต์ที่ Bristol Robotics Laboratory Rossiter เล่าถึงไอเดียการสร้างหุ่นยนต์ที่จะกำจัดมลภาวะในน้ำ


เจ้าหุ่นยนต์ Row-bot มีสมอง มีร่างกาย มีปากและมีกระเพาะอาหารเหมือนกับสิ่งมีชีวิต

ศาสตราจารย์ Jonathan Rossiter อธิบายว่าคุณลักษณะเหล่านี้ช่วยให้ Row-bot สามารถใช้สมองค้นหามลภาวะได้ ส่วนตัวร่างกายช่วยให้ Row-bot เดินทางไปหามลภาวะ ในขณะที่กระเพาะอาหารของเจ้าหุ่นยนต์จะกินมลภาวะและการขับถ่ายเป็นพลังงานออกมา พลังงานนี้จะถูกแปลงเป็นไฟฟ้าที่ Row-bot ใช้เพื่อเคลื่อนย้ายและใช้งานได้ต่อไป

การประดิษฐ์หุ่นยนต์ 'Row-bot' ตัวนี้ ถือเป็นประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อจำลองกระบวนการทางชีววิทยาขึ้นภายในกระเพาะอาหารของเจ้าหุ่นยนต์ขนาดเล็กนี้ ทำให้เจ้าหุ่นยนต์สามารถกินมลภาวะเข้าไปและสร้างกระแสไฟฟ้าได้จากมลภาวะที่มันกลืนกิน ซึ่งก็คือ น้ำเสียที่กำจัดเข้าไปนั่นเอง



ในน้ำเสียที่มีสาหร่ายมากมาย เมื่อเจ้าหุ่นยนต์ Row-bot ตัวนี้ลงน้ำ มันจะเดินหน้าไปหาสาหร่าย อ้าปากกินสาหร่ายเข้าไป หลังจากกินเข้าไปเต็มปากแล้ว หุ่นยนต์ก็จะหยุดเคลื่อนที่ ปิดปากปล่อยให้ส่วนกระเพาะอาหารทำงานเพื่อย่อยสาหร่ายที่กินเข้าไปแล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานได้ ราวกับว่ามันกินอาหารเข้าไป แล้วหยุดเคี้ยวๆๆ อยู่อย่างนั้น เมื่อกระเพาะอาหารทำงานเสร็จ ตัวมันก็เคลื่อนตัวต่อหาสาหร่ายที่เป็นต้นต่อของมลภาวะทางน้ำกินต่อไปเรื่อยๆ


หุ่นยนต์ที่น่าอัศจรรย์นี้ แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยและความสร้างสรรค์โดยแท้ แถมยังทำให้ชวนเห็นภาพอนาคตและต่อเติมจินตนาการได้อีกยาวไกล



54 views0 comments
bottom of page